คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการส่งเสริมแลกเปลี่ยนประสบการณ์องค์ความรู้กับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ตลอดจนเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา  จากปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน คณะฯ ได้มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติไปแล้ว 5 ครั้ง ดังนี้ 

     ครั้งที่ 1  หัวข้อ Improving Life Through Health Promotion: Nurses Making a Differences 
     ครั้งที่ 2  หัวข้อ Health Promotion: Evidence Practice and Policy     
     ครั้งที่ 3  หัวข้อ New Frontiers in Primary Health Care: Role of Nursing and Other Professions   
     ครั้งที่ 4  หัวข้อ Interprofessional Partnership: Improvement for Global Health Outcomes  
     ครั้งที่ 5  หัวข้อ Channelling the Rivers of Knowledge to Improve Global Policy and Practice   
     ครั้งที่ 6  หัวข้อ Optimizing Healthcare Quality: Teamwork in Education, Research, and Practice
 

          ครั้งที่ 1 การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง Improving Life Through Health Promotion: Nurses Making a Differences 

          การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง  Improving Life Through Health Promotion : Nurses Making a Differences โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ 3 แห่ง ได้แก่  University of Hawaii at Manoa, University of Michigan Ann Arbor, University of Western Sydney  ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2544   ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่  มีผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ 700 คน จาก 26 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ ภูฐาน บอสวานา กัมพูชา แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน ฟินแลนด์ กรีซ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สวีเดน ไต้หวัน เกาหลี มัลดีฟส์   เมียนมาร์ เนปาล นอร์เวย์ สิงคโปร์ อาฟริกาใต้ ไทย อูกันดา สหรัฐอเมริกา และฟิลิปปินส์ โดยได้เชิญวิทยากรจากทั้งในประเทศ  ได้แก่ 

          1.  Dr. Nola Pender จาก University of Michigan, Ann Arbor, USA           
          2.  Dr. Ada Hinshaw จาก University of Michigan Ann Arbor, USA 
          3.  Dr. Shake Ketefian จาก University of Michigan, Ann Arbor, USA 
          4.  Dr. Carol Loveland-Cherry จาก University of Michigan, Ann Arbor, USA 
          5.  Dr. Jeane Raisler จาก University of Michigan, Ann Arbor, USA 
          6.  Dr. Sally Lusk จาก University of Michigan, Ann Arbor, USA 
          7.  Dr. Nancy Woods จาก University of Washington, Seattle, USA 
          8.  Dr. Nancy Smith จาก University of Hawaii at Manoa, USA 
          9.  Dr. Robert Anders จาก University of Hawaii at Manoa, USA 
        10.  Dr. Rosanne Harrigan จาก University of Hawaii at Manoa, USA 
        11.  Dr. Erika Froelicher จาก University of California at San Francisco, USA 
        12.  Dr. M. Roy Schwarz จาก China Medical Board of New York, Inc, USA 
        13.  Dr. Rachel Booth จาก University of Alabama at Birmingham, USA 
        14.  Dr. Alan Pearson จาก La Trobe University, Australia 
        15.  Prof. Mavis Bickerton จาก University of Western Sydney, Australia 
        16.  Dr. Esther Chang จาก University of Western Sydney, Australia 
        17.  Dr. Judith Donoghue จาก University of Technology, Sydney, Australia 
        18.  Dr. Ann Chang จาก Chinese University of Hong Kong, Hong Kong 
        19.  Dr. Desmond O’Byrne จาก Health Promotion Unit, WHO Headquater, Geneva, Swizerland   
        20.  ดร.วิพุธ พูลเจริญ  จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  
        21.  ดร.วิจิตร  ศรีสุพรรณ จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
        22.  รศ.วิลาวัณย์ เสนารัตน์ จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
        23.  ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
        24.  ดร.ลินจง โปธิบาล จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
        25.  ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
        26.  ดร.จริยา วิทยศุภร จากคณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี 
        27.  ดร.สมจิต หนุเจริญกุล จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
        28.  ดร.ผ่องศรี ศรีมรกต จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
        29.  พญ. ศิริพร กัญชนะ จากกระทรวงสาธารณสุข

          การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ ได้มีการเสนอผลงานวิจัยทาง oral จำนวน 120 เรื่อง ทาง poster จำนวน 70 เรื่อง  ผู้เข้าร่วมการประชุมประเมินผลการเข้าร่วมประชุมในด้านโปรแกรมวิชาการ การเสนอผลงาน และการดำเนินการ โดยรวมอยู่ในระดับ ดี-ดีมาก  และคณะฯ ได้มีการจัดทำ preceeding และ proceeding ในการจัดประชุม การจัดประชุมวิชาการนานาชาติประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

Back to top

 

          ครั้งที่ 2 การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพ: หลักฐานเชิงประจักษ์ การปฏิบัติและแนวนโยบาย (Health Promotion: Evidence Practice and Policy)

     


          โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ 3 แห่ง ได้แก่ University of Michigan, Ann Arbor, University of Washington, Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา, University of Western Sydney ประเทศออสเตรเลีย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในระหว่างวันที่ 20 – 22 ตุลาคม 2547 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 768 คน จาก 5 ทวีป 13 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น อเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลี แคนาดา ฮ่องกง สาธารณรัฐประชานจีน ไต้หวัน มองโกเลีย สวิสเซอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ สก๊อตแลนด์ และประเทศไทย โดยได้เชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น
          • Dr. Desmond O’Byrne จาก World Health Organization Quarters, Geneva
          • Dr. M. Roy Schwarz จาก The China Medical Board of New York, Inc
          • Dr. Ada Sue Hinshaw จาก University of Michigan, Ann Arbor, USA
          • Prof. Dr. Nola Pender จาก University of Michigan, Ann Arbor, USA
          • Prof. Dr. Nancy Woods จาก University of Washington, Seattle, USA 
          • Prof. Dr. Kasem Watanachai จาก Chiang Mai University Council

          มีการเสนอผลงานวิจัย รวม 223 เรื่อง
          • Oral presentation จำนวน 164 เรื่อง
          • poster จำนวน 59 เรื่อง

         วันก่อนการประชุม (วันที่ 19 ตุลาคม 2547 ระหว่างเวลา 13.00 – 16.00 น.) คณะผู้จัดการประชุมฯ ได้จัดให้มี Preconference เรื่อง การปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ [Evidence Based Practice in Nursing and Midwifery] ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำเข้าสู่เนื้อหาข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพในวันต่อไป โดยมีวิทยากรจากศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ หรือ The Joanna Briggs Institute ทั้งศูนย์ในประเทศออสเตรเลียและในประเทศไทย มาเป็นวิทยากร และหลังการประชุมในวันที่ 23 – 24 ตุลาคม 2547 ได้มีการจัด Postconference เรื่อง ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพและการนำไปใช้ [Health Promotion : Theory and Implication] เพื่อเชื่อมโยงแนวคิดด้านการส่งเสริมสุขภาพไปสู่การนำไปใช้อนาคตซึ่งวิทยากรเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงทั่วโลก คือ Dr. Nola Pender เจ้าของทฤษฎี Health Promotion Model ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก และ Dr. Carol Loveland-Cherry จาก University of Michigan, Ann Arbor ประเทศสหรัฐอเมริกา  นอกจากนี้แล้วในระหว่างการประชุมยังมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ มุมอาหารเพื่อสุขภาพ การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เช่น การนวด การคลายเครียด และหลังสิ้นสุดการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถเลือกที่จะเดินทางไปเยี่ยมชมกิจกรรมของสถาบันส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น โรงพยาบาลแพทย์แผนโบราณ การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน และการทำงานเพื่อสุขภาพ จากกิจกรรมหลากหลายดังกล่าวที่ได้บรรจุไว้ในงานประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แนวคิด กลยุทธ์และการวางแผนที่ดี และถือได้ว่าเป็นเวทีที่ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์ กับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชาชีพ นับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพอันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการปฏิบัติอย่างเหมาะสม ได้มาตรฐาน และเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น          นอกจากนี้ก่อให้เกิดความร่วมมือในการสร้างงานเชิงบูรณาการทั้งระดับประเทศและนานาชาติเพื่อพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพประชากรทั้งสังคมระดับประเทศและนานาชาติต่อไป

Back to top


          ครั้งที่ 3 การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง ก้าวสู่มิติใหม่สาธารณสุขมูลฐาน (New Frontiers in Primary Health Care: Role of Nursing and Other Professions)

          โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ 6 สถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ได้แก่ University of Washington, Seattle, University of Michigan, Ann Arbor, Johns Hopkins University ประเทศสหรัฐอเมริกา University of Southampton ประเทศอังกฤษ University of Western Sydney ประเทศออสเตรเลีย และYamaguchi University ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2551 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนหลักจาก China Medical Board และจากมหาวิทยาลัยที่ร่วมเป็น Co-sponsors สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization)

          การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง ก้าวสู่มิติใหม่สาธารณสุขมูลฐาน (New Frontiers in Primary Health Care: Role of Nursing and Other Professions) เป็นการจัดการประชุมเนื่องในโอกาสที่การสาธารณสุขมูลฐานทั่วโลกได้ดำเนินการมา ครบรอบ 30 ปี หลังการประกาศที่เมือง Alma-Ata ในปี พ.ศ. 2521 โดยมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับบริหารเข้าร่วมประชุมทั้งหมด จำนวน 752 คน จาก 5 ทวีป 33 ประเทศ รูปแบบของการประชุมประกอบด้วย การบรรยายและการอภิปรายจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 44 ท่าน จาก 13 ประเทศ มีการนำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 259 เรื่อง เป็นแบบวาจา จำนวน 188 เรื่อง และแบบโปสเตอร์ จำนวน 71 เรื่อง รวมทั้งได้มีการจัดนิทรรศการเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านอาหารและโภชนาการซึ่งเป็นการวิจัยและการพัฒนางานด้านสุขภาพของประชาชน มีการนำเสนอโครงการนวัตกรรมบริการสุขภาพ จาก 5 ภาคของประเทศไทย มีการจัดแสดงนิทรรศการทางวิชาการจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ และจากศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านต่างๆ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และก่อนวันประชุมได้มีการจัด Pre Conference เรื่อง Evidence Based in Nursing Practice และ Post Conference ในวันสุดท้าย เรื่อง Policy Formulation in Nursing Practice เพื่อเชื่อโยงแนวคิดด้านการสาธารณสุขมูลฐานและการสร้างเสริมสุขภาพไปสู่การวางนโยบายสาธารณะด้านการสาธารณสุข นอกจากนั้นแล้ว ภายหลัง เสร็จสิ้นการประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าว ที่ประชุมได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาสากล (The Chiang Mai Declaration) ว่าด้วย Nursing and Midwifery for Primary Health Care ซึ่งได้มีการเผยแพร่ให้แก่สาธารณชนทั่วไป
          การประชุมในครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในระดับโลก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัย และได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลสุขภาพรวม ได้แก่

1.  Dr. Samlee Pianbangchang World Health Organization, India
2.  Dr. Jean Yan World Health Organization, Switzerland
3.  Dr. K C Tang World Health Organization, Switzerland
4.  Dr. Kathleen Fritsch World Health Organization, Philippines
5.  Dr. Prakin Suchaxaya World Health Organization, India
6.  Dr. U Than Sein World Health Organization, India
7.  Dr. Davison Monodawafa World Health Organization, India
8.  Dr. Lincoln C. Chen China Medical Board, USA
9.  Dr. Richard Cash Harvard University, USA
10.  Dr. Martha N. Hill Johns Hopkins University, USA
11.  Dr. Nancy F. Woods University of Washington Seattle, USA
12.  Dr. Brenda Zierler University of Washington Seattle, USA
13.  Dr. Kathleen Potempa University of Michigan Ann Arbor, USA
14.  Dr. Carol Loveland-Cherry University of Michigan Ann Arbor, USA
15.  Dr. Linda Aiken University of Pennsylvania, USA
16.  Dr. Mi Ja Kim University of Illinois Chicago, USA
17.  Dr. Robert L. Anders University of Texas El Paso, USA
18.  Dr. Dame Jill Macleod Clark University of Southampton, UK
19.  Dr. Lorraine Ellis University of Sheffield England, UK
20.  Dr. Marcia Petrini Yamaguchi Perfectural University, Japan
21.  Dr. Faruque Ahmed BRAC Health Program, Bangladesh
22.  Dr. Osamu Yamada Yamaguchi University, Japan
23.  Dr. Thomas Wong Hong Kong Polytechnic University, Hong Kong
24.  Dr. Judy Lumby Center for Evidence Based Nursing, Australia
25.  Dr. John Daly University of Western Sydney, Australia
26.  Dr. Virginia Schmied University of Western Sydney, Australia
27.  Dr. Ester Chang University of Western Sydney, Australia
28.  Dr. Kyung Rim Shin Ewha Womans University, South Korea
29.  Dr. Hu Yan Fudan University, PR China
30.  Dr. Hester Klopper Northwest University, South Africa
31.  Dr. Prawase Wasi Mahidol University, Thailand
32.  Dr. Suwit Wibulpolprasert Ministry of Public Health, Thailand
33.  Dr. Somchit Hanuchareankul Mahidol University, Thailand
34.  Dr. Wipada Kunaviktikul Chiang Mai University, Thailand
35.  Dr. Wichit Srisuphun Chiang Mai University, Thailand
36.  Assoc. Prof. Wilawan Senaratana Chiang Mai University, Thailand
37.  Dr. Anuwat Supachutikul Institute of Hospital Quality Improvement and
Accreditation, Thailand

Back to top

         
          ครั้งที่ 4  การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง หุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างสหวิชาชีพ: การปรับปรุงเพื่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของโลก (Interprofessional Partnership: Improvement for Global Health Outcomes)  

       
 

          การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง หุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างสหวิชาชีพ: การปรับปรุงเพื่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของโลก (Interprofessional Partnership: Improvement for Global Health Outcomes) จัดในระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยนักวิชาการจากสหสาขาวิชาชีพ พยาบาล บุคลากรสุขภาพ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากในประเทศและต่างประเทศ จาก 5 ทวีป 31 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก บังคลาเทศ สวีเดน ญี่ปุ่น ภูฎาณ เกาหลี คาเมรูน จีน ฟิจิ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน เคนย่า ลาว มาเก๊า ไต้หวันมาลาวี มาเลเซีย มัลดีฟส์ มองโกเลีย เมียนมาร์ เนปาล ศรีลังกา แทนซาเนีย ติมอร์-เลสเต โทโก เวียดนาม และไทย รวมจำนวนประมาณ 557 คน (ชาวไทย 344 คน และชาวต่างชาติ 213 คน) และมีการนำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 195 เรื่อง  (Oral presentation 71 เรื่อง และ Poster presentation 124 เรื่อง) สำหรับการจัดประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มีความร่วมมือทางวิชาการ จำนวน 20 แห่ง ได้ร่วมเป็น Co-sponsors ได้แก่

          1.  University of Pennsylvania, USA 
          2.  University of Washington, Seattle, USA
          3.  University of Michigan, Ann Arbor, USA  
          4.  University of North Carolina at Chapel Hill, USA
          5.  University of Virginia, USA
          6.  University of Texas Health Science, San Antonio, USA 
          7.  University of Texas Health Science, Houston, USA
          8.  Toho University, Japan 
          9.  Yamaguchi University, Japan
        10.  Kagawa University, Japan 
        11.  University of Newcastle, Australia 
        12.  University of Technology, Sydney, Australia 
        13.  Ewha Womans University, Korea
        14.  Yonsei University, Korea 
        15.  Sichuan University, P.R. China 
        16.  Wenzhou University, P.R. China 
        17.  University of Alberta, Canada 
        18.  Kristianstad University, Sweden 
        19.  The University of Hong Kong, Hong Kong  
        20.  Macao Polytechnic Institute, Macao 

          คณะพยาบาลศาสตร์ยังได้รับเกียรติจากจังหวัดเชียงใหม่ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้ด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์กรต่างๆ ได้ให้การสนับสนุนการจัดประชุม ได้แก่ World Health Organization, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์กรมหาชน) – สสปน. เป็นต้น

          การประชุมได้มุ่งเน้นในเรื่องความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในการทำงานของสหวิชาชีพเพื่อยกระดับการให้บริการสุขภาพอันจะนำไปสู่การปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของโลก 
          สุขภาพของโลก(GLOBAL HEALTH) คือสุขภาพของประชากรในบริบทของโลกและไปไกลกว่ามุมมองและความกังวลของแต่ละประเทศ  ปัญหาสุขภาพของโลกจึงเป็นปัญหาที่อยู่เหนือขอบเขตความสามารถของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อการเมืองและเศรษฐกิจโลก เช่น ปัญหาจากโรคติดเชื้อ HIV การเสียชีวิตจากมาเลเรีย โรคไข้เลือดออก การติดเชื้ออุจจาระร่วง การขาดสารอาหารในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและสูญเสียชีวิตของประชากรเป็นจำนวนหลายล้านคนในแต่ละปี  ดังนั้นการแก้ไขปัญหาสุขภาพของโลกที่ดีที่สุดจึงจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาชีพหรือใช้ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหวิชาชีพทางสุขภาพในการดำเนินการ ซึ่งประเทศต่างๆ สามารถเรียนรู้ด้วยกัน เรียนรู้จากกัน และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากประสบการณ์ของประเทศอื่น ทั้งวิธีการแพร่กระจายของเชื้อโรค วิธีการรักษาและการควบคุมโรค เป็นต้น   ความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือนี้ นอกจากจะก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาสุขภาพแบบไร้พรมเขตแดน รวมถึงการช่วยเหลือคุ้มครองประเทศต่างๆ จากภัยคุกคามด้านสุขภาพแล้ว  ยังก่อให้เกิดการ  บูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้รับบริการ กับนักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสขุภาพของโลกซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลกและส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกต่อไป

         การประชุมในครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิทยากร/ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติทั้งจากต่างประเทศและประเทศไทย ได้แก่ 

         1.  Dr. Afaf. I. Meleis จาก University of Pennsylvania School of Nursing, USA
         2.  Dr. Muareen Birminghan จาก World Health Organization, Thailand
         3.  Dr. John Gilbert จาก University of British Columbia, Canada
         4.  Dr. Kathleen Steven จาก University of Texas Health Science Center, San Antonio, USA 
         5.  Dr. Will Hueston จาก University of Minnesota, USA
         6.  ดร.ปานเทพ รัตนากร จากมหาวิทยาลัยมหิดล
         7.  ดร.มีชัย วีระไวทยะ จากมูลนิธิมีชัยวีระไวทยะ
         8.  นพ.ดร.โกมาตร์ จึงเสถียรทรัพย์ จากสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

         มีการเสนอผลงานวิจัย รวม 195 เรื่อง
         • Oral presentation จำนวน 71 เรื่อง
         • poster จำนวน 124 เรื่อง

Back to top

         
          ครั้งที่ 5 
 การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องThe 8th Biennial Joanna Briggs International Colloquium 2012 ในหัวข้อเรื่อง Channelling the Rivers of Knowledge to Improve Global Policy and Practice  

    

           คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งประเทศไทย (The Thailand Centre for Evidence Based Nursing and Midwifery: An Affiliated Centre of the Joanna Briggs Institute – JBI) ร่วมกับ  The Joanna Briggs Institute, The University of Adelaide ประเทศออสเตรเลีย จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 8th Biennial Joanna Briggs International Colloquium 2012 ในหัวข้อเรื่อง Channelling the Rivers of Knowledge to Improve Global Policy and Practice สำหรับอาจารย์ นักศึกษา พยาบาล นักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญทางคลินิก และผู้กำหนดนโยบายทางด้านสุขภาพ ทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 610 คน จาก 34 ประเทศ (ชาวไทย 385 คน และชาวต่างชาติ 225 คน) ในระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

          ศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งประเทศไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์เครือข่ายทางวิชาการของ JBI แห่งเดียวในประเทศไทย เปิดดำเนินการเป็นศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ความรู้จากผลงานวิจัยทางการพยาบาลและผดุงครรภ์ในรูปของการทบทวนความรู้อย่างเป็นระบบ (Systematic Review) และเผยแพร่ข่าวสารสำหรับแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งสนับสนุนการนำความรู้จากผลงานวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติในระบบบริการสุขภาพ (Best Practice Implementation) รวมทั้งเป็นแหล่งบริการด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ สำหรับอาจารย์ นักศึกษา พยาบาล นักวิจัย และนักวิชาการด้านสุขภาพต่างๆ

          สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ประสานความร่วมมือกับ JBI จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “Biennial Joanna Briggs International Colloquium ครั้งที่ 8” โดยได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติในด้านสร้างนโยบายสุขภาพ การสร้างนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ การปฏิบัติด้านการดูแลสุขภาพ การนำความรู้สู่การใช้ประโยชน์ที่มาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ และเชิญผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากหลากหลายแขนงสาขาวิชาจาก 29  ประเทศทั่วโลก ได้แก่ อาจารย์ นักศึกษา พยาบาล นักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญทางคลินิก และผู้กำหนดนโยบายทางด้านสุขภาพ เพื่อมาร่วมอภิปราย ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางในการพัฒนานโยบายสุขภาพ และการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพทั่วโลกโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์

          ในการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ มีการนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งหมด จำนวน 167 เรื่อง  แบ่งออกเป็นการนำเสนอแบบปากเปล่า 113  เรื่อง และการนำเสนอแบบโปสเตอร์ 54 เรื่อง นอกจากนั้นแล้ว ผู้จัดการประชุมได้จัดนิทรรศการทางวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ และศูนย์ JBI จากประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเลือกชมนิทรรศการและความก้าวหน้าของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกิจกรรมของศูนย์ความร่วมมือต่าง ๆ

          ทั้งนี้ ในวันก่อนการประชุมวิชาการในระหว่างวันที่ 5-9  พฤศจิกายน 2555 ได้จัดให้มีการฝึกอบรม Comprehensive Systematic Review และ Train-the-Trainer Program ให้แก่นักวิชาการจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สนใจเข้าอบรมการทบทวนความรู้อย่างเป็นระบบ และเพื่อเตรียมให้เป็นวิทยากรอบรมหัวข้อนี้ต่อไปในอนาคต  โดยมีวิทยากรจากศูนย์ JBI ประเทศออสเตรเลียมาเป็นวิทยากร และในวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2555 ได้จัดให้มีการประชุม Committee of Directors Meeting ของผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ที่เป็นเครือข่ายของ JBI ทั่วโลก ประมาณ 60 คน เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์ต่าง ๆ


Back to top

 

           ครั้งที่ 6  การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง พัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพให้เป็นเลิศ: การทำงานเป็นทีมด้านการศึกษา วิจัย และปฎิบัติ (Optimizing Healthcare Quality: Teamwork in Education, Research, and Practice)    

     

      

 

           การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “พัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพให้เป็นเลิศ: การทำงานเป็นทีมด้านการศึกษา วิจัย และปฏิบัติ” (Optimizing Healthcare Quality: Teamwork in Education, Research, and Practice) ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจำนวน 14 สถาบันใน 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบด้วย 

           1. Johns Hopskin University, USA 
           2. University of Alabama Birmingham, USA
           3. University of Illinois Chicago, USA
           4. University of North Carolina at Chapel Hill, USA
           5. University of Michigan Ann Arbor, USA
           6. University of Texas Health Science Center San Antonio, USA 
           7. University of Washington Seattle, USA
           8. University of Technology Sydney, Australia
           9. University of Hong Kong, Hong Kong
         10. Kobe University, Japan
         11. Toho University, Japan 
         12. Kagawa University, Japan
         13. University of the Ryukyu, Japan และ  
         14. Ewha Womans University, South Korea 

          การประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าวจัดขึ้นสำหรับนักวิชาการ นักวิจัย นักปฏิบัติการดูแลสุขภาพและด้านอื่นๆ และนักศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น จำนวน 753 คน ระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย นักปฏิบัติการดูแลสุขภาพและด้านอื่นๆ และนักศึกษา ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างทีมและการผลลัพธ์จากทำงานเป็นทีมต่อคุณภาพการดูแล นักวิจัยจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกลยุทธและวิธีการในการสร้างทีม การประเมินผลการทำงานเป็นทีม ตลอดจนผลกระทบของการทำงานเป็นทีมต่อระบบการดูแลสุขภาพและระบบอื่นๆ และเพื่อเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของประเทศไทยให้นานาชาติได้รู้จักและเป็นที่ยอมรับ

         โดยมีการเสนอผลงานวิจัย รวม 281 เรื่อง แบ่งเป็น

          • Oral presentation จำนวน 186 เรื่อง
          • poster จำนวน 95 เรื่อง

 

Back to top

 

 

 

 

 
ปรับปรุงล่าสุด 9/5/2560 16:15:09

FON CMU

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
110/406 ถนนอินทวโรรส ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทร. 053-935024 แฟ็กซ์ 053-217145